"วิชาสังคมศึกษา" แค่ได้ยินชื่อวิชาขึ้นมา หลายคนก็เตรียมหมอนนอนรอแล้ว พี่มิ้นท์ว่าเด็กไทยแปลกดีนะ พวกวิชาคำนวณ อย่างคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ก็ไม่ชอบ ภาษาต่างประเทศก็ไม่ชอบ วิชาง่ายๆ อย่างภาษาไทยก็ไม่ชอบ ส่วนวิชาสังคมยิ่งไม่ต้องพูดถึง เข้าไปหลับอย่างเดียว
สาเหตุที่น้องๆ ไม่ค่อยชอบวิชานี้ พี่มิ้นท์ลองสรุปมาประมาณนี้ ลองมาดูว่าจริงมั้ย 1. เนื้อหาเยอะมาก ไม่รู้จะเยอะไปไหน เรียนสิบปีก็ยังไม่หมดซักที 2. เป็นวิชาที่ยาก ใช้ความจำล้วน คนความจำสั้นอย่างเราก็จำไม่เคยได้ซักที 3. ไม่รู้ว่าเรียนแล้วเอามาใช้อะไร อ่านต่อ
วันอาทิตย์ที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557
วันพฤหัสบดีที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556
วัฒนธรรมไทย
ความหมายของวัฒนธรรม
“วัฒนธรรม” เป็นคำที่ได้มาจากการรวมคำ 2 คำเข้าด้วยกัน ได้แก่
- วัฒนะ หรือ วัฒน หมายถึง ความเจริญงอกงาม รุ่งเรือง - ธรรมะ หรือ ธรรม หมายถึง กฎ ระเบียบ หรือข้อปฏิบัติ ฉะนั้น เมื่อพูดถึงวัฒนธรรมตามความหมายนี้จึงหมายถึง
ความเป็นระเบียบ การมีวินัย เช่น เมื่อกล่าวถึงบุคคลหนึ่งว่า เป็นคนมีวัฒนธรรม
ก็มักจะหมายความว่า เป็นที่มีระเบียบวินัย เป็นต้น ในด้านสังคมศาสตร์
วัฒนธรรมมีความหมายกว้างขวางมาก กล่าวคือ วัฒนธรรม หมายถึง วิถีชีวิต (WAY OF LIFE) ของมนุษย์ในสังคม
และแบบแผนในการดำเนินชีวิตของมนุษย์ทุก ๆ
อย่างรวมทั้งบรรดาผลงานทั้งมวลที่มนุษย์ได้สร้างสรรค์ขึ้น ตลอดจนความคิด ความเชื่อ
ค่านิยม และความรู้ต่าง ๆวัฒนธรรมมีความสำคัญดังนี้
1) การเปลี่ยนแปลงของสังคม เช่น เปลี่ยนจากสังคมเกษตรกรรมเป็นสังคมเมือง ทำให้วัฒนธรรมบางอย่างเปลี่ยนแปลงหรือสูญหายไป
2) การพัฒนาของบ้านเมือง เช่น สมัยก่อนวัฒนธรรมการศึกษาจะอยู่ที่วัด ปัจจุบันเปลี่ยนเป็นการศึกษาในระบบโรงเรียน หรือวัฒนธรรมที่นิยมให้ผู้หญิงเป็นแม่บ้านได้เปลี่ยนไป เพราะผู้หญิงทำงานนอกบ้านมากขึ้น
3) การรับและนิยมวัฒนธรรมต่างชาติ เช่น ปัจจุบันวัยรุ่นไทยนิยมนักร้องและนักแสดงชาวเกาหลี ชาวญี่ปุ่น จึงสนใจเรียนรู้วัฒนธรรมของชาติเหล่านี้ รวมทั้งวัยรุ่นบางคนเห็นว่าวัฒนธรรมไทยบางอย่างล้าสมัย เช่น เครื่องดนตรีไทย เพลงไทยเดิม จึงละเลยที่จะเรียนรู้
4) ความเจริญก้าวหน้าทางด้านการติดต่อสื่อสาร เช่น อินเทอร์เน็ต เคเบิลทีวี ทำให้คนไทยเรียนรู้และนิยมวัฒนธรรมภายนอกมากขึ้น บางครั้งได้เกิดการเลียนแบบโดยไม่ได้ไตร่ตรองให้ดีก่อนนำไปใช้ เช่น การใส่เสื้อสายเดี่ยว เกาะอก ซึ่งเสี่ยงต่อภัยอันตรายต่าง ๆ ที่จะเกิดตามมาอีกด้วย
ความสำคัญของวัฒนธรรม
1. วัฒนธรรมเป็นสิ่งที่ชี้แสดงให้เห็นความแตกต่างของบุคคล
กลุ่มคน หรือชุมชนเป็นสิ่งที่ทำให้เห็นว่าตนมีความแตกต่างจากสัตว์ ช่วยให้เราเข้าใจสิ่งต่าง
ๆ
2. วัฒนธรรมเป็นตัวกำหนดปัจจัย
4 เช่น เครื่องนุ่งห่ม อาหาร ที่อยู่อาศัย
การรักษาโรควัฒนธรรมเป็นตัวกำหนดการแสดงความรู้สึกทางอารมณ์ และการควบคุมอารมณ์
เช่น ผู้ชายไทยจะไม่ปล่อยให้น้ำตาไหลต่อหน้าสาธารณะชนเมื่อเสียใจ
3. วัฒนธรรมเป็นตัวกำหนดการกระทำบางอย่าง
ในชุมชนว่าเหมาะสมหรือไม่
ซึ่งการกระทำบางอย่างในสังคมหนึ่งเป็นที่ยอมรับว่าเหมาะสมแต่ไม่เป็นที่ยอมรับในอีกสังคมหนึ่ง
ประเภทของวัฒนธรรม
โดยทั่วไปแล้วมักจะแบ่งวัฒนธรรมออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ
1. วัฒนธรรมที่เป็นวัตถุ (Material
Culture) ซึ่งได้แก่สิ่งประดิษฐ์และเทคโนโลยีต่าง ๆ
ที่มนุษย์คิดค้นผลิตขึ้นมา เช่น สิ่งก่อสร้าง อาคารบ้านเรือน อาวุธยุทโธปกรณ์
เครื่องอำนวยความสะดวกต่าง ๆ เป็นต้น
2. วัฒนธรรมที่ไม่ใช่วัตถุ (Non –
material Culture) หมายถึง อุดมการณ์ ค่านิยม แนวคิด ภาษา
ความเชื่อทางศาสนา ขนมธรรมเนียมประเพณี ลัทธิการเมือง กฎหมาย วิธีการกระทำ
และแบบแผนในการดำเนินชีวิต ซึ่งมีลักษณะเป็นนามธรรม (Abstract) ที่มองเห็นไม่ได้
นักสังคมวิทยาบางท่านเห็นว่า
แนวคิดที่เกี่ยวกับวัฒนธรรมที่ไม่ใช่วัตถุนั้นคลุมเครือ จึงได้แบ่งวัฒนธรรมออกเป็น
3 ประเภท ดังนี้ คือ
1. วัฒนธรรมทางวัตถุ (Material)
ได้แก่ วัตถุสิ่งของเครื่องใช้ต่าง ๆ
ที่มนุษย์สร้างขึ้นเพื่อนำมาใช้ในสังคม เช่น ที่อยู่อาศัย อาหาร เสื้อผ้า
ยารักษาโรค
2. วัฒนธรรมความคิด (Idea) หมายถึง วัฒนธรรมที่เกี่ยวกับความรู้สึกนึกคิด ทัศนคติ ความเชื่อต่าง ๆ
เช่น ความเชื่อในเรื่องตายแล้วเกิดใหม่ ความเชื่อในเรื่องกฎแห่งกรรม
การเชื่อถือโชคลาง ตลอดจนเรื่องลึกลับ นิยายปรัมปรา วรรณคดี สุภาษิต
และอุดมการณ์ต่าง ๆ เป็นต้น
3. วัฒนธรรมด้านบรรทัดฐาน (Norm) เป็นเรื่องของการประพฤติปฏิบัติตามระเบียบแบบแผนที่สังคมกำหนดเอาไว้ไม่ว่าจะเป็นลายลักษณ์อักษรหรือไม่เป็นลายลักษณ์อักษรก็ตาม
ตามพระราชบัญญัติวัฒนธรรมแห่งชาติ ปีพุทธศักราช 2485 ได้แบ่งประเภทวัฒนธรรมออกเป็น 4 ประเภท ได้แก่
1. คติธรรม (Moral) คือวัฒนธรรมที่เกี่ยวกับหลักในการดำรงชีวิตส่วนใหญ่เป็นเรื่องของจิตใจ
2. เนติธรรม (Legal) คือวัฒนธรรมทางกฎหมาย
3. สหธรรม (Social) คือวัฒนธรรมทางสังคม รวมทั้งมารยาทต่าง ๆ
4. วัตถุธรรม (Material) คือวัฒนธรรมทางงวัตถุ
ลักษณะของวัฒนธรรมไทย
1. เป็นวัฒนธรรมแบบเกษตรกรรม คนไทยมีความเกี่ยวข้องกับน้ำ ผู้คนส่วนใหญ่จะประกอบอาชีพเกษตรกร ทำการเพาะปลูก
เลี้ยงสัตว์
2. เป็นวัฒนธรรมที่ยึดถือการกุศล คนไทยนิยมทำบุญในงานเทศกาลต่าง ๆ
เพื่อเป็นสิริมงคลและเพื่ออุทิศบุญกุศลให้ญาติผู้ใหญ่ที่ล่วงลับไปแล้ว
3. เป็นวัฒนธรรมที่ยึดถือเครือญาติ
สังคมไทยมีความสัมพันธ์กันโดยยึดหลักอาวุโส คนที่มีอายุน้อยกว่าจะให้ความเคารพผู้ที่มีอายุมากกว่าหรืออาวุโสกว่า
เพราะถือว่าผู้อาวุโสเป็นผู้ที่สูงด้วยประสบการณ์
4. เป็นวัฒนธรรมที่ยึดถือพิธีกรรม
มีขั้นตอนในการประกอบพิธีตามความเชื่อและมุ่งหวังความมีหน้ามีตาในการจัดงาน
5. เป็นวัฒนธรรมที่นิยมความสนุกสนาน
6.เป็นวัฒนธรรมที่มีการผสมผสาน
ความสำคัญของวัฒนธรรมไทย
1. วัฒนธรรมทำให้เกิดความสามัคคีความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน
2. วัฒนธรรมเป็นตัวกำหนดรูปแบบของสถาบัน
3. วัฒนธรรมเป็นเครื่องแสดงเอกลักษณ์ของชาติ
คำว่า เอกลักษณ์ หมายถึง ลักษณะพิเศษหรือลักษณะเด่นของบุคคลหรือสังคม
4. วัฒนธรรมช่วยให้ประเทศชาติเจริญก้าวหน้า
5. วัฒนธรรมเป็นเครื่องสร้างระเบียบแก่สังคมมนุษย์
6. วัฒนธรรมเป็นเครื่องมือช่วยแก้ปัญหา
และสนองความต้องการของมนุษย์
วัฒนธรรมท้องถิ่นภาคกลาง
วัฒนธรรมที่เกี่ยวข้องกับที่อยู่อาศัย บ้านทรงไทยนับว่าเป็นภูมิปัญญาของบรรพบุรุษไทย ที่ได้คิดสร้างที่อยู่อาศัยที่เหมาะสมกับสภาพภูมิประเทศ
ภูมิอากาศ และประโยชน์ใช้สอย คือ เป็นเรือนยกพื้นสูง เพื่อป้องกันน้ำท่วมตัวเรือน เอกลักษณ์อีกอย่างของเรือนไทย
คือมีชานบ้านซึ่งเป็นที่โล่งกลางบ้าน ซึ่งมีประโยชน์ เช่น เป็นที่พัก
วัฒนธรรมที่สืบเนื่องจากการทำเกษตรกรรม
คนในภาคกลางมีวัฒนธรรมที่สืบเนื่องจากการทำเกษตรกรรมมากมาย
ทั้งวัฒนธรรมที่เกี่ยวกับคน เช่น การลงแขกทำนา การละเล่นเพลงพื้นบ้าน
และวัฒนธรรมที่เกี่ยวกับศาสนา สิ่งศักดิ์สิทธิ์ตามธรรมชาติ
คนไทยภาคกลางบริโภคข้าวเจ้าเป็นหลัก
การรับประทานอาหาร ในแต่ละมื้อจะจัดเป็นสำรับ มีกับข้าวหลายอย่าง รสชาติอาหารภาค
กลางมีการผสมผสานของหลากหลายรสชาติ ทั้งรสเปรี้ยว หวาน เค็ม เผ็ด
วัฒนธรรมท้องถิ่นภาคเหนือ
ชาวเหนือส่วนใหญ่มีอาชีพทำนา
ทำไร่ การทำนาส่วนใหญ่จะเป็นนาดำ จึงทำนาหว่าน
คนเหนือปลูกข้าวเหนียวกันเป็นส่วนใหญ่ เพราะส่วนมากจะบริโภคแต่ข้าวเหนียว
ข้าวเหนียวภาคเหนือถือเป็นข้าวที่มีคุณภาพดี นึ่งสุกแล้วขาวสะอาด
อ่อนและนิ่มน่ารับประทาน นอกจากทำนาแล้วยังปลูกพืชไร่อื่น ๆ เช่น หอม กระเทียม
ถั่ว ยาสูบ ประเพณีภาคเหนือ เช่น ประเพณีสืบชะตา เป็นพิธีต่ออายุให้แก่ตนเอง
และญาติพี่น้อง บ้านเมืองเพื่อให้เกิดความเจริญรุ่งเรืองและความเป็นสิริมงคล
วัฒนธรรมท้องถิ่นภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
อาหาร อาหารหลักของชาวอีสานที่สำคัญ
เช่น ข้าวเหนียว ส้มตำ ลาบ อ่อม
และปลาร้า โดยเฉพาะปลาร้าถือเป็นอาหารพื้นบ้านที่เป็นเอกลักษณ์ ศาสนาและความเชื่อ
ชาวไทยภาคอีสานส่วนใหญ่นับถือพระพุทธศาสนาเหมือนกับชาวไทยในภาคอื่น
ๆ ขณะเดียวกันการนับถือผีสางเทวดาและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ตามธรรมชาติ ซึ่งเป็นความเชื่อดั้งเดิม ประเพณีบุญบั้งไฟ เป็นประเพณีสำคัญของชาวอีสานที่จัดขึ้นในช่วงเดือนเมษายนถึงเดือนพฤษภาคมของทุกปี
ก่อนฤดูกาลทำนา จากความเชื่อเรื่องเทวดาที่คนอีสาน
เรียกว่า พระยาแถนจะสามารถบันดาลให้พืชผลในท้องนาอุดมสมบูรณ์
มีฝนตกตามฤดูกาล
วัฒนธรรมท้องถิ่นภาคใต้
1 ด้านอาหาร ชาวไทยภาคใต้นิยมรับประทานอาหารรสจัด
เช่น แกงไตปลา แกงเหลือง ศาสนาและความเชื่อ ก่อนจะได้รับอิทธิพลทางศาสนาจากอินเดีย ชนพื้นเมืองทางภาคใต้นับถือ ผีสางเทวดา วิญญาณบรรพบุรุษ แต่ในปัจจุบันประชาชนในภาคใต้นับถือพระพุทธศาสนาเป็นส่วนใหญ่
การปรับปรุงเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมไทย
การเปลี่ยนแปลงของวัฒนธรรมไทย
เกิดจากหลายปัจจัยต่าง ๆ ดังนี้
ความแตกต่างระหว่างวัฒนธรรมไทยกับวัฒนธรรมสากล
วัฒนธรรมของทุกสังคมมีความคล้ายคลึงกันมีพื้นฐานของวัฒนธรรมที่คล้ายคลึงกัน
เรียกว่า “วัฒนธรรมสากล (global culture)” แต่วัฒนธรรมแต่ละประเภทจะแตกต่างกัน
และวัฒนธรรมสากลคือการเผยแพร่วัฒนธรรมที่มีอิทธิพลไปสู่วัฒนธรรมที่เบาบางกว่า
ทำให้เกิดการปฏิบัติตามทั่วโลก เรียกว่าวัฒนธรรมสากล
โดยวัฒนธรรมสากลมีความแตกต่างจากวัฒนธรรมไทย ดังต่อไปนี้
เน้นปรัชญาว่า “มนุษย์เป็นนายธรรมชาติ”
: การที่มนุษย์สามารถคิดประดิษฐ์สิ่งตางๆตามธรรมชาติให้เป็นไปตามความต้องการได้
เน้นทวิโลกทัศน์ : ชาวตะวันตกมักมองสิ่งต่างเป็น 2 ด้านเสมอ
จึงพยายามเปลี่ยนส่งที่ล้าสมัยให้เป็นสิ่งที่ทันสมัย
แต่ยังยึดความดีเหนือความเลวอยู่ ในขณะที่วัฒนธรรมไทยเน้นการมองทุกสิ่งเป็นองค์รวม
เน้นวิธีการทางวิทยาศาสตร์ : เน้นในสิ่งที่พิสูจน์ได้และมีหลักฐาน จึงสามารถสร้างเครื่องมือเครื่องใช้ที่ทันสมัยสอดคล้องกับหลักเทคโนโลยีชั้นสูง
แต่สำหรับวัฒนธรรมไทย
มักเน้นปัจจัยที่สัมผัสได้มาศึกษาร่วมกับปัจจัยทางจิตใจและความเชื่อทางหลักพุทธศาสนา
แนวทางการอนุรักษ์วัฒนธรรมที่ดีงาม
- ศึกษา ค้นคว้าวิจัย วัฒนธรรมไทยและวัฒนธรรมท้องถิ่นเพื่อที่จะได้ทราบความหมายและความสำคัญของมรดกไทยอย่างถ่องแท้
- ส่งเสริมให้ทุกคนเห็นคุณค่า
- ขยายขอบเขตการมีส่วนร่วมในวัฒนธรรม
- ส่งเสริมการแลกเปลี่ยนศิลปวัฒนธรรม
- สร้างทัศนคติ ความรู้ ความเข้าใจ
วิธีการเลือกรับวัฒนธรรมสากล
การเลือกรับวัฒนธรรมสากลที่เข้ามาเผยแพร่อย่างมีวิจารณญาณเป็นสิ่งที่สำคัญ
โดยพิจารณาได้จากปัจจัยดังนี้
1. วัฒนธรรมสากลต้องผสมผสานเข้ากับโรงสร้างทางสังคม
ค่านิยมและขนบธรรมเนียมไทยได้
2. วัฒนธรรมสากลต้องมีส่วนเกื้อหนุนให้เกิดการพัฒนาวัฒนธรรมไทยให้ก้าวหน้า
และสามารถนำข้อมูลทางเทคโนโลยีไปใช้ประโยชน์ในด้านธุรกิจอุตสาหกรรมเชิงพาณิชย์ได้
3. วัฒนธรรมสากลต้องสามารถอยู่ร่วมหรือเคียงคู่ไปกับวัฒนธรรมไทยได้
เมื่อมีวัฒนธรรมจากภายนอกเข้ามา
จำเป็นต้องเลือกสรรว่าจะสามารถผสมผสานกับวัฒนธรรมไทยได้หรือไม่
จะทำให้วัฒนธรรมไทยยังคงอยู่กับสังคมไทยตลอดไป
วีดิโอนำเสนอ เรื่อง วัฒนธรรมไทย
วีดิโอนำเสนอ เรื่อง วัฒนธรรมไทย
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)