วัฒนธรรมไทย
ความหมายของวัฒนธรรม
“วัฒนธรรม” เป็นคำที่ได้มาจากการรวมคำ 2 คำเข้าด้วยกัน ได้แก่
- วัฒนะ หรือ วัฒน หมายถึง ความเจริญงอกงาม รุ่งเรือง - ธรรมะ หรือ ธรรม หมายถึง กฎ ระเบียบ หรือข้อปฏิบัติ ฉะนั้น เมื่อพูดถึงวัฒนธรรมตามความหมายนี้จึงหมายถึง
ความเป็นระเบียบ การมีวินัย เช่น เมื่อกล่าวถึงบุคคลหนึ่งว่า เป็นคนมีวัฒนธรรม
ก็มักจะหมายความว่า เป็นที่มีระเบียบวินัย เป็นต้น ในด้านสังคมศาสตร์
วัฒนธรรมมีความหมายกว้างขวางมาก กล่าวคือ วัฒนธรรม หมายถึง วิถีชีวิต (WAY OF LIFE) ของมนุษย์ในสังคม
และแบบแผนในการดำเนินชีวิตของมนุษย์ทุก ๆ
อย่างรวมทั้งบรรดาผลงานทั้งมวลที่มนุษย์ได้สร้างสรรค์ขึ้น ตลอดจนความคิด ความเชื่อ
ค่านิยม และความรู้ต่าง ๆวัฒนธรรมมีความสำคัญดังนี้
1) การเปลี่ยนแปลงของสังคม เช่น เปลี่ยนจากสังคมเกษตรกรรมเป็นสังคมเมือง ทำให้วัฒนธรรมบางอย่างเปลี่ยนแปลงหรือสูญหายไป
2) การพัฒนาของบ้านเมือง เช่น สมัยก่อนวัฒนธรรมการศึกษาจะอยู่ที่วัด ปัจจุบันเปลี่ยนเป็นการศึกษาในระบบโรงเรียน หรือวัฒนธรรมที่นิยมให้ผู้หญิงเป็นแม่บ้านได้เปลี่ยนไป เพราะผู้หญิงทำงานนอกบ้านมากขึ้น
3) การรับและนิยมวัฒนธรรมต่างชาติ เช่น ปัจจุบันวัยรุ่นไทยนิยมนักร้องและนักแสดงชาวเกาหลี ชาวญี่ปุ่น จึงสนใจเรียนรู้วัฒนธรรมของชาติเหล่านี้ รวมทั้งวัยรุ่นบางคนเห็นว่าวัฒนธรรมไทยบางอย่างล้าสมัย เช่น เครื่องดนตรีไทย เพลงไทยเดิม จึงละเลยที่จะเรียนรู้
4) ความเจริญก้าวหน้าทางด้านการติดต่อสื่อสาร เช่น อินเทอร์เน็ต เคเบิลทีวี ทำให้คนไทยเรียนรู้และนิยมวัฒนธรรมภายนอกมากขึ้น บางครั้งได้เกิดการเลียนแบบโดยไม่ได้ไตร่ตรองให้ดีก่อนนำไปใช้ เช่น การใส่เสื้อสายเดี่ยว เกาะอก ซึ่งเสี่ยงต่อภัยอันตรายต่าง ๆ ที่จะเกิดตามมาอีกด้วย
ความสำคัญของวัฒนธรรม
1. วัฒนธรรมเป็นสิ่งที่ชี้แสดงให้เห็นความแตกต่างของบุคคล
กลุ่มคน หรือชุมชนเป็นสิ่งที่ทำให้เห็นว่าตนมีความแตกต่างจากสัตว์ ช่วยให้เราเข้าใจสิ่งต่าง
ๆ
2. วัฒนธรรมเป็นตัวกำหนดปัจจัย
4 เช่น เครื่องนุ่งห่ม อาหาร ที่อยู่อาศัย
การรักษาโรควัฒนธรรมเป็นตัวกำหนดการแสดงความรู้สึกทางอารมณ์ และการควบคุมอารมณ์
เช่น ผู้ชายไทยจะไม่ปล่อยให้น้ำตาไหลต่อหน้าสาธารณะชนเมื่อเสียใจ
3. วัฒนธรรมเป็นตัวกำหนดการกระทำบางอย่าง
ในชุมชนว่าเหมาะสมหรือไม่
ซึ่งการกระทำบางอย่างในสังคมหนึ่งเป็นที่ยอมรับว่าเหมาะสมแต่ไม่เป็นที่ยอมรับในอีกสังคมหนึ่ง
ประเภทของวัฒนธรรม
โดยทั่วไปแล้วมักจะแบ่งวัฒนธรรมออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ
1. วัฒนธรรมที่เป็นวัตถุ (Material
Culture) ซึ่งได้แก่สิ่งประดิษฐ์และเทคโนโลยีต่าง ๆ
ที่มนุษย์คิดค้นผลิตขึ้นมา เช่น สิ่งก่อสร้าง อาคารบ้านเรือน อาวุธยุทโธปกรณ์
เครื่องอำนวยความสะดวกต่าง ๆ เป็นต้น
2. วัฒนธรรมที่ไม่ใช่วัตถุ (Non –
material Culture) หมายถึง อุดมการณ์ ค่านิยม แนวคิด ภาษา
ความเชื่อทางศาสนา ขนมธรรมเนียมประเพณี ลัทธิการเมือง กฎหมาย วิธีการกระทำ
และแบบแผนในการดำเนินชีวิต ซึ่งมีลักษณะเป็นนามธรรม (Abstract) ที่มองเห็นไม่ได้
นักสังคมวิทยาบางท่านเห็นว่า
แนวคิดที่เกี่ยวกับวัฒนธรรมที่ไม่ใช่วัตถุนั้นคลุมเครือ จึงได้แบ่งวัฒนธรรมออกเป็น
3 ประเภท ดังนี้ คือ
1. วัฒนธรรมทางวัตถุ (Material)
ได้แก่ วัตถุสิ่งของเครื่องใช้ต่าง ๆ
ที่มนุษย์สร้างขึ้นเพื่อนำมาใช้ในสังคม เช่น ที่อยู่อาศัย อาหาร เสื้อผ้า
ยารักษาโรค
2. วัฒนธรรมความคิด (Idea) หมายถึง วัฒนธรรมที่เกี่ยวกับความรู้สึกนึกคิด ทัศนคติ ความเชื่อต่าง ๆ
เช่น ความเชื่อในเรื่องตายแล้วเกิดใหม่ ความเชื่อในเรื่องกฎแห่งกรรม
การเชื่อถือโชคลาง ตลอดจนเรื่องลึกลับ นิยายปรัมปรา วรรณคดี สุภาษิต
และอุดมการณ์ต่าง ๆ เป็นต้น
3. วัฒนธรรมด้านบรรทัดฐาน (Norm) เป็นเรื่องของการประพฤติปฏิบัติตามระเบียบแบบแผนที่สังคมกำหนดเอาไว้ไม่ว่าจะเป็นลายลักษณ์อักษรหรือไม่เป็นลายลักษณ์อักษรก็ตาม
ตามพระราชบัญญัติวัฒนธรรมแห่งชาติ ปีพุทธศักราช 2485 ได้แบ่งประเภทวัฒนธรรมออกเป็น 4 ประเภท ได้แก่
1. คติธรรม (Moral) คือวัฒนธรรมที่เกี่ยวกับหลักในการดำรงชีวิตส่วนใหญ่เป็นเรื่องของจิตใจ
2. เนติธรรม (Legal) คือวัฒนธรรมทางกฎหมาย
3. สหธรรม (Social) คือวัฒนธรรมทางสังคม รวมทั้งมารยาทต่าง ๆ
4. วัตถุธรรม (Material) คือวัฒนธรรมทางงวัตถุ
ลักษณะของวัฒนธรรมไทย
1. เป็นวัฒนธรรมแบบเกษตรกรรม คนไทยมีความเกี่ยวข้องกับน้ำ ผู้คนส่วนใหญ่จะประกอบอาชีพเกษตรกร ทำการเพาะปลูก
เลี้ยงสัตว์
2. เป็นวัฒนธรรมที่ยึดถือการกุศล คนไทยนิยมทำบุญในงานเทศกาลต่าง ๆ
เพื่อเป็นสิริมงคลและเพื่ออุทิศบุญกุศลให้ญาติผู้ใหญ่ที่ล่วงลับไปแล้ว
3. เป็นวัฒนธรรมที่ยึดถือเครือญาติ
สังคมไทยมีความสัมพันธ์กันโดยยึดหลักอาวุโส คนที่มีอายุน้อยกว่าจะให้ความเคารพผู้ที่มีอายุมากกว่าหรืออาวุโสกว่า
เพราะถือว่าผู้อาวุโสเป็นผู้ที่สูงด้วยประสบการณ์
4. เป็นวัฒนธรรมที่ยึดถือพิธีกรรม
มีขั้นตอนในการประกอบพิธีตามความเชื่อและมุ่งหวังความมีหน้ามีตาในการจัดงาน
5. เป็นวัฒนธรรมที่นิยมความสนุกสนาน
6.เป็นวัฒนธรรมที่มีการผสมผสาน
ความสำคัญของวัฒนธรรมไทย
1. วัฒนธรรมทำให้เกิดความสามัคคีความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน
2. วัฒนธรรมเป็นตัวกำหนดรูปแบบของสถาบัน
3. วัฒนธรรมเป็นเครื่องแสดงเอกลักษณ์ของชาติ
คำว่า เอกลักษณ์ หมายถึง ลักษณะพิเศษหรือลักษณะเด่นของบุคคลหรือสังคม
4. วัฒนธรรมช่วยให้ประเทศชาติเจริญก้าวหน้า
5. วัฒนธรรมเป็นเครื่องสร้างระเบียบแก่สังคมมนุษย์
6. วัฒนธรรมเป็นเครื่องมือช่วยแก้ปัญหา
และสนองความต้องการของมนุษย์
วัฒนธรรมท้องถิ่นภาคกลาง
วัฒนธรรมที่เกี่ยวข้องกับที่อยู่อาศัย บ้านทรงไทยนับว่าเป็นภูมิปัญญาของบรรพบุรุษไทย ที่ได้คิดสร้างที่อยู่อาศัยที่เหมาะสมกับสภาพภูมิประเทศ
ภูมิอากาศ และประโยชน์ใช้สอย คือ เป็นเรือนยกพื้นสูง เพื่อป้องกันน้ำท่วมตัวเรือน เอกลักษณ์อีกอย่างของเรือนไทย
คือมีชานบ้านซึ่งเป็นที่โล่งกลางบ้าน ซึ่งมีประโยชน์ เช่น เป็นที่พัก
วัฒนธรรมที่สืบเนื่องจากการทำเกษตรกรรม
คนในภาคกลางมีวัฒนธรรมที่สืบเนื่องจากการทำเกษตรกรรมมากมาย
ทั้งวัฒนธรรมที่เกี่ยวกับคน เช่น การลงแขกทำนา การละเล่นเพลงพื้นบ้าน
และวัฒนธรรมที่เกี่ยวกับศาสนา สิ่งศักดิ์สิทธิ์ตามธรรมชาติ
คนไทยภาคกลางบริโภคข้าวเจ้าเป็นหลัก
การรับประทานอาหาร ในแต่ละมื้อจะจัดเป็นสำรับ มีกับข้าวหลายอย่าง รสชาติอาหารภาค
กลางมีการผสมผสานของหลากหลายรสชาติ ทั้งรสเปรี้ยว หวาน เค็ม เผ็ด
วัฒนธรรมท้องถิ่นภาคเหนือ
ชาวเหนือส่วนใหญ่มีอาชีพทำนา
ทำไร่ การทำนาส่วนใหญ่จะเป็นนาดำ จึงทำนาหว่าน
คนเหนือปลูกข้าวเหนียวกันเป็นส่วนใหญ่ เพราะส่วนมากจะบริโภคแต่ข้าวเหนียว
ข้าวเหนียวภาคเหนือถือเป็นข้าวที่มีคุณภาพดี นึ่งสุกแล้วขาวสะอาด
อ่อนและนิ่มน่ารับประทาน นอกจากทำนาแล้วยังปลูกพืชไร่อื่น ๆ เช่น หอม กระเทียม
ถั่ว ยาสูบ ประเพณีภาคเหนือ เช่น ประเพณีสืบชะตา เป็นพิธีต่ออายุให้แก่ตนเอง
และญาติพี่น้อง บ้านเมืองเพื่อให้เกิดความเจริญรุ่งเรืองและความเป็นสิริมงคล
วัฒนธรรมท้องถิ่นภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
อาหาร อาหารหลักของชาวอีสานที่สำคัญ
เช่น ข้าวเหนียว ส้มตำ ลาบ อ่อม
และปลาร้า โดยเฉพาะปลาร้าถือเป็นอาหารพื้นบ้านที่เป็นเอกลักษณ์ ศาสนาและความเชื่อ
ชาวไทยภาคอีสานส่วนใหญ่นับถือพระพุทธศาสนาเหมือนกับชาวไทยในภาคอื่น
ๆ ขณะเดียวกันการนับถือผีสางเทวดาและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ตามธรรมชาติ ซึ่งเป็นความเชื่อดั้งเดิม ประเพณีบุญบั้งไฟ เป็นประเพณีสำคัญของชาวอีสานที่จัดขึ้นในช่วงเดือนเมษายนถึงเดือนพฤษภาคมของทุกปี
ก่อนฤดูกาลทำนา จากความเชื่อเรื่องเทวดาที่คนอีสาน
เรียกว่า พระยาแถนจะสามารถบันดาลให้พืชผลในท้องนาอุดมสมบูรณ์
มีฝนตกตามฤดูกาล
วัฒนธรรมท้องถิ่นภาคใต้
1 ด้านอาหาร ชาวไทยภาคใต้นิยมรับประทานอาหารรสจัด
เช่น แกงไตปลา แกงเหลือง ศาสนาและความเชื่อ ก่อนจะได้รับอิทธิพลทางศาสนาจากอินเดีย ชนพื้นเมืองทางภาคใต้นับถือ ผีสางเทวดา วิญญาณบรรพบุรุษ แต่ในปัจจุบันประชาชนในภาคใต้นับถือพระพุทธศาสนาเป็นส่วนใหญ่
การปรับปรุงเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมไทย
การเปลี่ยนแปลงของวัฒนธรรมไทย
เกิดจากหลายปัจจัยต่าง ๆ ดังนี้
ความแตกต่างระหว่างวัฒนธรรมไทยกับวัฒนธรรมสากล
วัฒนธรรมของทุกสังคมมีความคล้ายคลึงกันมีพื้นฐานของวัฒนธรรมที่คล้ายคลึงกัน
เรียกว่า “วัฒนธรรมสากล (global culture)” แต่วัฒนธรรมแต่ละประเภทจะแตกต่างกัน
และวัฒนธรรมสากลคือการเผยแพร่วัฒนธรรมที่มีอิทธิพลไปสู่วัฒนธรรมที่เบาบางกว่า
ทำให้เกิดการปฏิบัติตามทั่วโลก เรียกว่าวัฒนธรรมสากล
โดยวัฒนธรรมสากลมีความแตกต่างจากวัฒนธรรมไทย ดังต่อไปนี้
เน้นปรัชญาว่า “มนุษย์เป็นนายธรรมชาติ”
: การที่มนุษย์สามารถคิดประดิษฐ์สิ่งตางๆตามธรรมชาติให้เป็นไปตามความต้องการได้
เน้นทวิโลกทัศน์ : ชาวตะวันตกมักมองสิ่งต่างเป็น 2 ด้านเสมอ
จึงพยายามเปลี่ยนส่งที่ล้าสมัยให้เป็นสิ่งที่ทันสมัย
แต่ยังยึดความดีเหนือความเลวอยู่ ในขณะที่วัฒนธรรมไทยเน้นการมองทุกสิ่งเป็นองค์รวม
เน้นวิธีการทางวิทยาศาสตร์ : เน้นในสิ่งที่พิสูจน์ได้และมีหลักฐาน จึงสามารถสร้างเครื่องมือเครื่องใช้ที่ทันสมัยสอดคล้องกับหลักเทคโนโลยีชั้นสูง
แต่สำหรับวัฒนธรรมไทย
มักเน้นปัจจัยที่สัมผัสได้มาศึกษาร่วมกับปัจจัยทางจิตใจและความเชื่อทางหลักพุทธศาสนา
แนวทางการอนุรักษ์วัฒนธรรมที่ดีงาม
- ศึกษา ค้นคว้าวิจัย วัฒนธรรมไทยและวัฒนธรรมท้องถิ่นเพื่อที่จะได้ทราบความหมายและความสำคัญของมรดกไทยอย่างถ่องแท้
- ส่งเสริมให้ทุกคนเห็นคุณค่า
- ขยายขอบเขตการมีส่วนร่วมในวัฒนธรรม
- ส่งเสริมการแลกเปลี่ยนศิลปวัฒนธรรม
- สร้างทัศนคติ ความรู้ ความเข้าใจ
วิธีการเลือกรับวัฒนธรรมสากล
การเลือกรับวัฒนธรรมสากลที่เข้ามาเผยแพร่อย่างมีวิจารณญาณเป็นสิ่งที่สำคัญ
โดยพิจารณาได้จากปัจจัยดังนี้
1. วัฒนธรรมสากลต้องผสมผสานเข้ากับโรงสร้างทางสังคม
ค่านิยมและขนบธรรมเนียมไทยได้
2. วัฒนธรรมสากลต้องมีส่วนเกื้อหนุนให้เกิดการพัฒนาวัฒนธรรมไทยให้ก้าวหน้า
และสามารถนำข้อมูลทางเทคโนโลยีไปใช้ประโยชน์ในด้านธุรกิจอุตสาหกรรมเชิงพาณิชย์ได้
3. วัฒนธรรมสากลต้องสามารถอยู่ร่วมหรือเคียงคู่ไปกับวัฒนธรรมไทยได้
เมื่อมีวัฒนธรรมจากภายนอกเข้ามา
จำเป็นต้องเลือกสรรว่าจะสามารถผสมผสานกับวัฒนธรรมไทยได้หรือไม่
จะทำให้วัฒนธรรมไทยยังคงอยู่กับสังคมไทยตลอดไป
วีดิโอนำเสนอ เรื่อง วัฒนธรรมไทย
วีดิโอนำเสนอ เรื่อง วัฒนธรรมไทย